ยินดีต้อนรับเข้าสู่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย ต.ห้วยทราย  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์ 053-301597  084-3786100 โทรสาร (แฟกซ์) 053-301597



ร้องเรียนร้องทุกข์

แจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

คู่มือประชาชน

Eservice

facebook

ข่าวสารอาเซียน



ศูนย์ดำรงธรรม

ประกาศจากกรมบัญชีกลาง EGP

ตรวจเช็คอีเมล

ระบบจัดการเว็บไซต์



สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 19/05/2561
วันนี้
25
เมื่อวานนี้
42
เดือนนี้
352
เดือนที่แล้ว
2,595
ปีนี้
13,221
ปีที่แล้ว
26,177
ทั้งหมด
87,980
ไอพี ของคุณ
3.227.251.94

1
พระพุทธบาทห้วยหลวง(บ้านแม่แอน),องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย,tambonhuaisai.go.th

รอยพระพุทธหัตถ์-รอยพระพุทธบาท

บ่อน้ำทิพย์

ห้วยหลวง (บ้านแม่แอน)

ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

 

facebook https://www.facebook.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99-395970963805777/

25 สิงหาคม 2564

วัดวาลุการาม (ห้วยทราย),องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย,tambonhuaisai.go.th

    

     วัดวาลุการาม (ห้วยทราย) ตั้งอยู่เลขที่ 159 หมู่ที่ 3 ต.ห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ มีเนื้อที่ 3 ไร่ 84 ตารางวา นส.3
เขตทิศเหนือประมาณ 40 วา จดที่นาเอกชน
ทิศใต้ประมาณ 40 วา จดถนนสาธารณะ
ทิศตะวันออก 32 วา จดที่นาเอกชน
ทิศตะวันตก 32 วา จดลำน้ำแม่ริม
      สร้างเมื่อ พ.ศ.2456 ชาวบ้านเรียก ว่าวัดห้วยทราย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2461 ที่ชื่อเดิมวัดห้วยทรายนั้นเดิมมีลำห้วยอยู่ทิศใต้ ของวัดไหลลงมาจากภูเขาทางทิศตะวันออก เมื่อถึงคราวหน้าฝนน้ำหลากจะเอาดิน,โคลนและทราย ไหลลงมาด้วยจนถึงลำน้ำแม่ริม พอน้ำแห้งลงจะมีทรายละเอียดสีขาวงดงามมาก เป็นกองแนวยาวตามลำห้วย ชาวบ้านจะพากันขนไปเก็บไว้ที่บ้านเพื่อใช้ในการก่อสร้างต่างๆ พอถึงเทศกาลวันสงกรานต์ (ปีใหม่เมือง) ชาวบ้านจะพากันขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเจดีย์ทราย ซึ่งชาวเหนือถือกันว่าปีหนึ่งๆ ผ่านไปเราได้เหยีบย่ำทราย ออกจากวัดไปมากมาย เพื่อเป็นการทดแทน และกลัวบาปกรรมที่ติดตามมา จึงถือเป็นประเพณีขนทรายเข้าวัดเป็นประจำทุกปี ต่อมาภายหลังทางราชการได้ตัดถนนเข้าสู่หมู่บ้าน และกันเป็นอ่างเก็บน้ำลำห้วยเดิมจึงไม่มีทรายไหลลงมาอีก เหมือนดเดิม ดังที่เห็นตามสภาพทุกวันนี้ได้

   สร้างเมื่อ พ.ศ.2456 ชาวบ้านเรียก ว่าวัดห้วยทราย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2461 ที่ชื่อเดิมวัดห้วยทรายนั้นเดิมมีลำห้วยอยู่ทิศใต้ ของวัดไหลลงมาจากภูเขาทางทิศตะวันออก เมื่อถึงคราวหน้าฝนน้ำหลากจะเอาดิน,โคลนและทราย ไหลลงมาด้วยจนถึงลำน้ำแม่ริม พอน้ำแห้งลงจะมีทรายละเอียดสีขาวงดงามมาก เป็นกองแนวยาวตามลำห้วย ชาวบ้านจะพากันขนไปเก็บไว้ที่บ้านเพื่อใช้ในการก่อสร้างต่างๆ พอถึงเทศกาลวันสงกรานต์ (ปีใหม่เมือง) ชาวบ้านจะพากันขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเจดีย์ทราย ซึ่งชาวเหนือถือกันว่าปีหนึ่งๆ ผ่านไปเราได้เหยีบย่ำทราย ออกจากวัดไปมากมาย เพื่อเป็นการทดแทน และกลัวบาปกรรมที่ติดตามมา จึงถือเป็นประเพณีขนทรายเข้าวัดเป็นประจำทุกปี ต่อมาภายหลังทางราชการได้ตัดถนนเข้าสู่หมู่บ้าน และกันเป็นอ่างเก็บน้ำลำห้วยเดิมจึงไม่มีทรายไหลลงมาอีก เหมือนดเดิม ดังที่เห็นตามสภาพทุกวันนี้ได้

ข้อมูลจาก : http://www.templethailand.org/

26 มิถุนายน 2561

วัดสว่างเพชร ,องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย,tambonhuaisai.go.th

   

     วัดสว่างเพชร เดิมชื่อว่า วัดหนองปลามัน ตามประวัติการก่อตั้งวัด ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ยืนยันชัดเจน ว่าได้มีการก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ ใดสันนิษฐานว่า น่าจะมีการก่อตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2450 โดยมีพระครูบุญปั๋น เมธาวี เป็นเจ้าอาวาส มาตั้งแต่ พ.ศ.2471 โดยท่าน เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลห้วยทราย – สะลวง ในสมัยนั้นด้วยและเป็นผู้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดสว่างเพชร” อาจสันนิษฐานได้ว่า ประวัติการสร้างคงเกิดขึ้นพร้อมกับประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน โดยมีผู้สูงอายุในหมู่บ้านและผู้ทรงคุณวุฒิ ในหมู่บ้านหลายท่าน ได้ยืนยันอย่างเดียวกันว่ามีการอพยพของชนชาวไทลื้อกลุ่มหนึ่ง มาจากทางทิศเหนือ คือ หมู่บ้านสะลวง ถ้าหมายเอาตามประวัติศาสตร์ ชาวไทลื้อได้มีถิ่นเดิม อยู่ที่สิบสองปันนา ชึ่งอพยพมาในช่วงที่มีฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ครั้งใหญ่ ในสมัยพระยากาวิละ ระหว่าง พ.ศ.2339 – 2347 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการรวบรวมพลเมืองเข้ามาในเมืองเชียงใหม่และกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองปันนาหลายเชื้อชาติ มีทั้งไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิง และยอง จึงสันนิษฐานว่าชาวไทยลื้อกลุ่มนี้ได้เข้ามาในช่วงนั้นเช่นกัน ชาวไทยลื้อกลุ่มนี้ได้แยกตัวจากไทยลื้ออีกกลุ่มหนึ่งที่ราบลุ่มบริเวณบ้านสะลวงโดยมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่บริเวณนี้ เมื่อเรื่องเล่าขานถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดชื่อของหมู่บ้านขึ้นว่า ในทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีหนองน้ำขนาดกลางตั้งอยู่ ซึ่งมีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากสมัยนั้น หนุ่มสาวภายในหมู่บ้านและต่างถิ่น ชอบพากันมาหาปลาที่นี้เป็นประจำ เกิดการสนิทสนม และแอบมีความสัมพันธ์กัน ทำให้ฝ่ายหญิงเกิดการตั้งครรภ์ เหตุการณ์แบบนี้คงเกิดขึ้นหลายครั้ง จนเป็นที่รำลือกันว่า หนองน้ำแห่งนี้ว่า “ปามาน” หรือ “พาท้อง” จนเรียกติดปากว่า “หนองปามาน” จนเวลาล่วงไปหลายชั่วอายุคน คำนี้ค่อยๆเพี้ยน และเปลี่ยนไป เป็น หนองปลามัน จนกลายเป็นชื่อของหมู่บ้าน “หนองปลามัน” ในที่ สุด

26 มิถุนายน 2561

 วัดตำหนักธรรมนิมิตร,องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย,tambonhuaisai.go.th

 

     วัดตำหนักธรรมนิมิตร เดิมมีชื่อหลายชื่อ เช่น วัดสันขวางดอนปิน, วัดทุ่งตำหนัก, วัดบ้านอ้อย, สร้างเมื่อวัน พฤหัสบดี ปีจอโทศก จ.ศ.1272 กดเส็ดภังคะเศษ 5 วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2453 เวลา 15.19 น. ยาม 7 ยามล้านนาเรียกว่า ยามถะแร๋ค่ำ ภูมิปาโลฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรีเป็นกษัตรย์ไทย ขุนบำรุงรัฐเขตเป็นนายอำเภอแม่ริมคนที่ 3 พระครูมหามงคล (ครูบาสุรินทร์) วัดดวงดีเป็นเจ้าคณะอำเภอรูปที่ 1 ขุนห้วยทรายสาระกิจเป็นกำนัน ตำบลห้วยทราย พ่อหนานไจย์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน นายกี้ พรมนาค เป็นไวยาวัจกร พ่อหนานโพธิ ศรีโรยเป็นมัคนายก พระอาจารย์ปัญญา ลอยมี เป็นเจ้าอาวาส ที่ตั้งวัดนี้เดิมนั้นเป็นไร่ปลูกข้าวเก่าของนายหนานกันธา มีชาวบ้านที่ร่วมกันบำรุงอุปถัมภ์และทำบุญในครั้งแรกจำนวน 38 หลังคาเรือน โดยอพยพมาจากบ้านอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ บ้านอ้อยเดิมชื่อบ้านน้อย ผู้สร้างอพยพมาประมาณปี พ.ศ.2413 ในการอพยพมาจากบ้านอุโมงค์นั้นมีพ่อเจ้าหนานมหาวงศ์ แม่เจ้าอุษา กาวิละ เป็นหัวหน้านำมาเพื่อเป็นการหาที่อยู่อาศัยและประกอบสัมมาชีพเลยขึ้นมาตามลำน้ำแม่ริมจนมาเจอภูมิประเทศที่พอใจจึงลงหลักปักฐานสร้างเป็นหมู่บ้านเล็กๆใส่ชื่อว่า บ้านหน้อย (หมายถึงบ้านเล็ก ๆ มีไม่กี่หลังคา) โดยทำการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษรตและถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็นำลงแพไปขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าอย่างอื่น และได้ชักชวนครอบครัวอื่นขึ้นมาอีกโดยบอกว่าพบที่อุดมสมบูญร์จนเป็นหมูบ้านที่มีกันประมาณ 30 ครอบครัว จนถึงฤดูกาลน้ำหลากปรากฏว่าหมู่บ้านประสพกับเหตุการณ์น้ำท่วมจึงมีมติย้ายหมู่บ้านเข้ามาอีกประมาณ 1 กิโลเมตรคือที่ตั้งบ้านปัจจุบัน ตราบจนเจ้าพ่อชีวิตอ้าวซึ่งเป็นพระเจ้าลุงของพระราชชายาดารารัศมีในรัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยข้าราชบริพารได้มาประพาสป่าและมาพักที่บ้าน หน้อยหรือบ้านน้อย ประชาชนชาวบ้านทุกหลังคามีความยินดีมากที่เชื้อพระวงศ์เจ้าผู้นครมาพักในหมู่บ้านจึงพร้อมใจกันสร้างตำหนักถวายเพื่อเป็นที่พักและได้นำเอาอ้อยที่มีอยู่ทั่วไปได้ตัดมาถวายเพื่อเป็นอาหารของช้างที่นำมาประพาสป่าด้วยจนเป็นที่พอใจของพระองค์ จึงได้พูดกับหัวหน้าหมู่บ้านว่าต่อไปนี้ให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจากบ้านหน้อยมาเป็นบ้านอ้อยตามนามมงคลที่ได้เอาอ้อยถวายประกอบกับมีบ้านอยู่หลายหลังไม่เหมาะสมที่จะชื่อบ้านหน้อยหรือบ้านน้อย ตั้งแต่นั้นมาจึงได้เป็นบ้านอ้อยตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านอ้อยแล้วพ่อหนานไชย์ แม่เที่ยงและชาวบ้านจำนวน 38 หลังคาเรือนได้พูดคุยกันว่าสมควรที่หมู่บ้านของเราจะมีวัดเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและทำบุญตามพุทธศาสนิกชนที่ดีทั้งหลายจึงเห็นสมควรว่าจะสร้างวัดขึ้น ทางคนนำในหมู่บ้านจึงทำพิธีสัจจะอธิษฐานขึ้นว่าสมควรที่จะสร้างวัดตรงใหนโดยทำพิธีเสี่ยงทายแบบโบราณโดยให้มีเหตูการณ์เกิดขึ้นในทางที่ดีที่เป็นมงคลเพื่อความก้าวหน้าและเป็นศิริมงคลแก่วัดที่จะสร้างใหม่และหมู่บ้านต่อไปให้มีเหตุการณ์ปรากฏภายใน 3 – 7 วัน ปรากฏว่าเกิกเหตุที่ชาวบ้านปลื้มปิติยินดีเป็นอันมากที่ตอนกลางคืนได้เห็นแสงที่งดงามมากเท่าดวงจันทร์ลอยลงมาตกที่ไร่ข้าวของนายหนานกันธา ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของหมู่บ้านอยู่ทางทิศตะวันตก อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำอยู่บนดอยที่สามารถเห็นหมู่บ้านได้ทั้งหมด จึงตกลงกันว่าจะสร้างวัดกันตรงนั้นโดยได้ขอที่ตรงนั้นกับเจ้าของไร่ข้าวซึ่งได้ยกที่ตรงนั้นเพื่อสร้างวัดด้วยความยินดี ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 29 กันยายน 2453 และได้ใส่ชื่อวัดว่า วัดตำหนักธรรมนิมิตรตั้งแต่บัดนั้นมาโดยมีเหตุที่ใส่ชื่อดังนี้

26 มิถุนายน 2561

1

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1  (4 รายการ)